MIG250Y-3 เครื่องเชื่อม 3PH 380V (JASIC)
สนใจสอบถามเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น MIG250Y-3 เครื่องเชื่อม MIG-MAX เป็นเครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์ เป็นระบบป้อนลวดในตัว มีขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา
เคลื่อนย้ายได้สะดวก ง่ายต่อการใช้งานเชื่อมงานได้ดี มีน้ำหนัก 47 กิโลกรัมกระแสไฟในการเชื่อม 50 – 250 แอมป์ ขนาดลวดที่ใช้ 0.8 และ 1.0 มิลลิเมตรมีความเร็วในการป้อนลวด 1.5 – 16 เมตรต่อนาทีเครื่องเชื่อมรุ่นนี้นี้มาพร้อมกับชุดล้อติดตั้งอยู่ในตัวเครื่อง พร้อมทั้งฟังก์ชันในโหมดการเชื่อมหรือเชื่อมไฟฟ้าสามารถใช้ในงานเชื่อมเหล็ก สแตนเลสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ขนาดลวดที่ใช้ | 0.6/0.8/0.9/1.0 |
แรงดันไฟในการเชื่อม | MIG 25-250/MMA10-250 |
กระแสไฟเชื่อม | 11-29 |
ระดับป้องกันสิ่งแปลกปลอม | IP21S |
ประสิทธิภาพ (%) | 85 |
แรงดันไฟจ่ายขณะไร้ภาระ (โวลต์) | 54 |
สัมประสิทธิทางไฟฟ้า | 0.75 |
ระดับฉนวนกันความร้อน | F |
กระแสไฟฟ้า | 45 (แอมป์) |
กำลังไฟฟ้า | 10.4 (กิโลโวลต์แอมป์) |
แรงดันไฟฟ้า | 380+-15%(3PHASE)50/60HZ |
ความเร็วการป้อนต่อนาที | ป้อนลวด 1.5-16 (ม.ม.) |
ความจุ | 35 % |
น้ำหนัก | 47 KG |
สารบัญ | WELDING EQUIPMENT |
มิติ(ตัวสินค้า)(กว้างxยาวxสูง) | 910X415X640 |
ภาพรวม (Product Overview)
เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น MIG250Y-3 (3 เฟส) เครื่องเชื่อม MIG-MAX เป็นเครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์ เป็นระบบป้อนลวดในตัว มีขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน เชื่อมงานได้ดี มีน้ำหนัก 47 กิโลกรัม กระแสไฟในการเชื่อม 50 – 250 แอมป์ ขนาดลวดที่ใช้ 0.6/ 0.8/ 0.9/ 1.0 มิลลิเมตร มีความเร็วในการป้อนลวด 1.5 – 16 เมตรต่อนาที เครื่องเชื่อมรุ่นนี้นี้มาพร้อมกับชุดล้อติดตั้งอยู่ในตัวเครื่อง พร้อมทั้งฟังก์ชันในโหมดการเชื่อม หรือเชื่อมไฟฟ้า สามารถใช้ในงานเชื่อมเหล็ก สแตนเลสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จุดเด่น (Features)
– กระแสไฟคงที่ต่อเนื่องตามค่าที่ปรับไว้ ใช้งานได้ไม่สะดุด
– สะดวกสบายในการใช้งานมีสะพาย
บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
– เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น MIG250Y-3 (3 เฟส) บรรจุในกล่องกระดาษแข็งอย่างดี ภายในบรรจุด้วยโฟมทั้งด้านบนและด้านล่างเพื่อกันกระแทก
– บรรจุไปด้วยอุปกรณ์สายเชื่อม สายกราว เกจ์ และอุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ
อุปกรณ์ทั้งหมดในกล่อง (Products and Accessories)
1. เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น MIG250Y-3 (3 เฟส)
2. สาย MIG TORCH รุ่น 15AK 3 M
3. สายกราว 300A 25 MM2 x 3 M
4. เกจ์วัดแรงดัน CO2 + อุปกรณ์สิ้นเปลืองต่างๆ
5. คู่มือการใช้งาน และใบรับประกันสินค้า
การใช้งาน (Applications)
เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น MIG250Y-3 (3 เฟส) เครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ มีความทนทานต่องานเชื่อม สามารถเชื่อมงานได้ยาวนานต่อเนื่อง ประหยัดเวลากว่าการเชื่อมด้วยเครื่องเชื่อมไฟฟ้า เพราะใช้ลวดแบบม้วนมีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม มีขนาดลวดหลายไซส์ เช่น 0.6/ 0.8/ 0.9/ 1.00 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน เหมาะสำหรับงานเชื่อมที่ต้องการแบบเชื่อมที่มีคุณภาพ รอยเชื่อมสวย ไม่จำเป็นต้องมาตกแต่งแนวเชื่อมอีก เครื่องเชื่อม MIG-MAX เหมาะสำหรับงานซ่อมบำรุง งานอุตสาหกรรมยานยนต์ งานเฟอร์นิเจอร์ หรืองานเชื่อมทั่วไป
วิธีการใช้งาน (How to use)
– ประกอบตัวเครื่องเข้ากับล้อยึดให้แน่น รวมทั้งใช้โซ่ที่มาพร้อมกับตัวเครื่องในการรัดเข้ากันกับถังออกซิเจน
– ทำการติดตั้งเกจ์วัดแรงดัน Co2 พร้อมทั้งเสียบสายก๊าซประกอบเข้ากันกับถังออกซิเจน
– เครื่องเชื่อม 3PH 380V JASIC รุ่น MIG250Y-3 เครื่องเชื่อมต่อเนื่องมีสายไฟติดมากับตัวเครื่องไม่มีปลั๊กแนะนำให้ใช้ปลั๊กเพาเวอร์ในการใช้งาน (มีการประกอบชุดสายเกือบมิด)
– ให้นำลายเชื่อม MIG TORCH ประกอบเข้าไปด้านหน้าของตัวเครื่องสังเกตว่าจะมีเขี้ยวล๊อคอยู่
– ใช้พัดลมระบายความร้อนด้านหลังจะหมุน ด้านหน้าของตัวเครื่องจะมีฟังก์ชันต่างๆ ดังนี้
– วิธีปรับการเชื่อม MIG-MAX ให้กดสวิทซ์ไปที่ MIG
– ส่วนสวิทซ์ข้างถัดไปให้กดไปที่ STANDARD
– ให้ปรับวอลลุ่ม ความเร็วของลวด และวอลลุ่มแรงดันโวลต์ให้เท่ากัน
– ปรับปริมาณของ GAS ไปที่ 5 – 10 ลิตรต่อนาที
ข้อควรปฏิบัติ/ข้อควรระวังในการใช้งาน (Do and Don’t)
– ก่อนใช้งานทุกครั้ง ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตาสำหรับงานเชื่อม ถุงมือหนัง ชุดกันสะเก็ดไฟ รองเท้าเซฟตี้ และอื่นๆ
– ตรวจสอบกำลังไฟของแหล่งจ่ายไฟให้ถูกต้องตามกำลังไฟของเครื่องเชื่อมรุ่นนั้น
– ตรวจสอบข้อต่อสายเชื่อม และสายดินทุกครั้งก่อนที่จะทำการเชื่อมรวมถึงปลั๊กไฟ และปลั๊กพ่วงต่างๆ
– ตรวจสอบพัดลมระบายความร้อนว่ามีการใช้งานได้ปกติหรือไม่
– ห้ามใช้งานใกล้กับวัสดุที่ติดไฟง่าย หรือสารไวไฟ
– ขณะใช้งานต้องต่อสายดินทุกครั้งในการใช้งาน
– การเชื่อมที่ใช้กระแสไฟสูงต้องใช้สายไฟที่ทนกระแสสูงได้
การบำรุงรักษา (Maintenance)
– หลังจากหยุดการใช้เครื่องแล้วควรปล่อยให้พัดลมระบายอากาศของเครื่องทำงานอย่างน้อย 10 – 15 นาที โดยเปิดเครื่องค้างไว้เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนไปสะสมที่แผนวงจร และป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์ภายใน
– ควรจะเป่าฝุ่นออกอย่างน้อยเดือนละ 1 – 2 ครั้ง เพราะฝุ่นละอองเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เกิดความเสียหายได้ถ้ามีการสะสมมากๆ จะทำให้ระบบวงจรบกพร่อง การไหลของวงจรกระแสไฟไม่ดีเท่าที่ควร