สำหรับช่างเชื่อมที่ต้องการอัปเดตเทรนการซื้อตู้เชื่อม แล้วยังสงสัยว่าในปี 2022 เราควรจะซื้อ เครื่องเชื่อมไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี วันนี้เราได้รวบรวม ตู้เชื่อมไฟฟ้าราคาถูกคุณภาพดี 5 ตู้น่าใช้ในปีนี้จากประสบการณ์ของเราเอาไว้ให้แล้ว มาพร้อมกับเทคนิควิธีเลือกซื้อตู้เชื่อมให้ช่างทุกคนได้เลือกซื้อตู้เชื่อมที่ใช้ ได้งานที่ดีกันทุกคนอีกด้วย
ตู้เชื่อมไฟฟ้าทั้ง 5 แบบที่เราจะเอามานำเสนอจะมีอะไรบ้าง ตามไปเช็คดูกันได้เลยครับ
1.เครื่องเชื่อม EUROX IGBT200
หากคุณกำลังเริ่มต้นด้วยคำถามว่าปีนี้จะซื้อเครื่องเชื่อมไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี ที่เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้าราคาถูกเราก็อยากแนะนำให้รู้จักกับเครื่องเชื่อม EUROX IGBT200 เครื่องเชื่อมรุ่น 160 แอมป์ ที่มาพร้อมกับระบบ IGBT ที่ทันสมัย
สเปกอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- แรงดันไฟฟ้า 220V 50Hz
- กระแสไฟเชื่อม 20-160 Amp
- ระดับป้องกัน : IP21
- ขนาดลวดเชื่อม 1.6 – 4.0 มม.
- น้ำหนัก 6.1 กิโลกรัม
- ขนาดเครื่องเชื่อม 340 x 140 x 240 มม.
- ราคาตู้เชื่อมไฟฟ้า 6,390 บาท
2. เครื่องเชื่อม EUROX IGBT160
ถ้าต้องการตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ราคาเบากว่าตัวก่อนแต่ยังคงคุณภาพได้ดี ต้องเครื่องเชื่อม EUROX IGBT160 สินค้ามาใหม่ที่กำลังมาแรงในตอนนี้ ด้วยคุณสมบัติที่มีแรงดันไฟฟ้า 220V 50Hz ช่วยให้การเชื่อมเหล็กทำงานได้ง่ายขึ้น
สเปกอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ระดับป้องกัน : IP21
- น้ำหนัก 6.1 กิโลกรัม
- กระแสไฟเชื่อม 20-140 Amp
- ขนาดลวดเชื่อม 1.6 – 3.2 มม.
- ราคาตู้เชื่อมไฟฟ้า 5,290 บาท
3.เครื่องเชื่อม POLO BX1-250C
หรือช่างคนไหนต้องการตู้เชื่อมที่มีดีไซน์กะทัดรัด แล้วสงสัยว่าจะเลือกตู้เชื่อมไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี เหมาะสำหรับพกพาและการทำงานขนาดเล็ก ต้องดู ตู้เชื่อมไฟฟ้า POLO BX1-250C เครื่องเชื่อม Arc Welder สำหรับงานทั่วไป สามารถ เชื่อมได้ทั้งเหล็กเหนียว เหล็กหล่อ เหล็กแข็ง และสเตนเลส อีกทั้งยังมีหูหิ้วและล้อเข็น เคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะสำหรับการพกพา
สเปคอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ใช้กับไฟฟ้า 1 เฟส 220 V
- แรงดันไฟฟ้า 220 V / 1 PH
- มีพัดลมระบายความร้อนในตัว
- ติดตั้งระบบป้องกันอุณหภูมิเกินไว้ในตัวเครื่อง
- มีสเกลวัดระดับความแรงของกระแสไฟที่ปรับให้เหมาะสมกับขนาดของเส้นลวดเชื่อม
- ขนาด 21.5 KG ความยาว 520X285X310 มม.
- ราคาตู้เชื่อมไฟฟ้า 4,990
4. เครื่องเชื่อม ARC160 เจสิค (JASIC)
ถ้ากำลังมองหาตู้เชื่อมไฟฟ้าที่มีกำลังแรงขึ้นมาหน่อย แต่ราคายังพอรับไหวต้อง เครื่องเชื่อม ARC160 เครื่องเชื่อมอินเวิร์ทเตอร์ MMA (Manual Matal Arc Welding) ที่มีกระแสเชื่อม 160 แอมป์ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สเตนเลส และอะลูมิเนียมใช้ลวดเชื่อมทั่วไปได้เกือบทุกชนิด
สเปกอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบาเพียง 8.2 กก. เคลื่อนย้ายง่าย กระแสไฟเชื่อมคงที่
- กันไฟกระชากประหยัดกระแสไฟฟ้า มีระบบป้องกัน Over-voltage และ Over-current คุณภาพสูง อายุใช้งานยาว แนวเชื่อมมีความเรียบและสวย
- แรงดันไฟฟ้า 20-155 V / 1 PH
- ราคา 8,390 บาท
5. เครื่องเชื่อม KENDE รุ่น IN-275
สำหรับคนงบเยอะและใช้งานตู้เชื่อมไฟฟ้าบ่อยครั้ง หรือใช้งานอย่างหนัก เราขอแนะนำตู้เชื่อมไฟฟ้า KENDE รุ่น IN-275 ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ KENDE (ระบบ IGBT) กินไฟน้อยและดึงโหลดจากเครื่องปั่นไฟน้อย จึงสามารถใช้ร่วมกับเครื่องปั่นไฟได้ FORD JUPITER และ KENTO ขนาด 5 กิโลวัตต์ ขึ้นไปได้
อีกทั้งสามารถใช้สายเชื่อมได้ยาวถึง 100 เมตร กรณีไฟตกถึง 130 โวลท์ เครื่องก็ยังสามารถทำงานต่อเนื่องได้ โดยเครื่องไม่ได้รับความเสียหายหนัก
สเปกอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- แผงวงจรมีเคลือบน้ำยาอย่างดี ช่วยป้องกัน ละอองน้ำ,ความชื้น,ฝุ่นสัตว์ แมลงต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ที่ตู้เชื่อมทั่วไปได้รับความเสียหายหนัก
- กระแสไฟฟ้า 250 AMP
- กำลังไฟ 5.0 KVA
- แรงดันไฟขณะใช้งาน 86 V
- ขนาด 5.8 กก. 355 x 145 x 255 มม.
- ราคา 8,900 บาท
6. แล้วเราจะเลือกซื้อเครื่องเชื่อมไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี
เลือกซื้อเครื่องเชื่อมไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี เป็นอีกหนึ่งคำถามคาใจสำหรับช่างเชื่อมหลายๆ คน เพราะพอมองๆไป รุ่นนั้นก็ดี รุ่นนี้ก็ปลอดภัย มีคุณภาพน่าลอง น่าใช้ไปหมด Stintertrade ก็เป็นผู้ให้บริการเครื่องมือช่างที่มีตู้เชื่อมไฟฟ้าราคาถูกให้เลือกซื้อกว่า 6 ยี่ห้อ เช่น EUROX, IWELD, JASIC และ KENDE เป็นต้น
แต่ถ้าใครต้องการเทคนิคการเลือกซื้อเครื่องเชื่อมไฟฟ้า วันนี้เราก็มีเทคนิคดี ๆ มาฝากกัน
อันดับแรกต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าสนใจจะเลือกซื้อเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบใด ถ้าหากเป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้งานอยู่ทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ซึ่งมีรูปแบบการทำงานที่แตกต่างกัน
6.1 ชนิดกระแสตรง (Direct Current) หรือเรียกว่า เครื่องเชื่อม DC
ตู้เชื่อมไฟฟ้ากระแสตรง คือ ตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสตรงในการเชื่อม จะมีข้อดีคือ สามารถใช้เชื่อมงานโลหะได้ชนิดบางและชนิดหนา รวมถึงสามารถเชื่อมโลหะได้ทุกประเภท ส่วนข้อเสีย คือ มีขนาดของเครื่องที่ใหญ่ ราคาค่อนข้างสูง การซ่อมบำรุงสามารถทำได้ยาก และในการเคลื่อนย้ายหรือพกพา เหมาะสำหรับร้านเชื่อมที่ต้องการเครื่องเชื่อมขนาดใหญ่ไว้ใช้ติดร้าน
6.2 ชนิดกระแสสลับ (Alternating Current) หรือเรียกว่า เครื่องเชื่อม AC
ตู้เชื่อมไฟฟ้ากระแสสลับ คือ ตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้ากระแสสลับในการเชื่อม ตู้จะจ่ายกระแสไฟฟ้าแบบสลับไปมาระหว่างขั้วลบกับขั้วบวกข้อดี คือ มีน้ำหนักเบา เนื่องจากทำจากวัสดุที่มีน้ำหนักเบา ขนาดกะทัดรัดและมีขนาดเล็ก การบำรุงรักษาสามารถทำได้ง่าย และมีราคาขายที่ค่อนข้างถูก ข้อเสีย คือสามารถเกิดอันตรายจากการเกิดไฟดูดได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องใช้งานอย่างระมัดระวังและติดตั้งสายดิน และระวังในการใช้ในพื้นที่ชื้นหรือเปียก เชื่อมงานได้เฉพาะโลหะบางประเภท เช่น งานโครงสร้างทั่วไป เท่านั้น
ดังนั้นเมื่อเกิดคำถามว่าจะเลือกซื้อเครื่องเชื่อมไฟฟ้ายี่ห้อไหนดีต้องไม่ลืมคำนึงถึงการใช้งานจริงที่เราจะใช้ ข้อดีและข้อเสียของเครื่องเชื่อมไฟฟ้าทั้งสองแบบ หากมีข้อสงสัยสามารถเข้ามาติดต่อสอบถามมืออาชีพในการให้บริการเครื่องมือและอุปกรณ์ก่อสร้างอย่าง Stintertrade แหล่งการเลือกซื้อที่มีความน่าเชื่อถือได้รับรองมาตรฐานความปลอดภัยได้ตลอดเวลา เพื่อคัดสรรให้คุณได้ตู้เชื่อมไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการทำงาน