รายละเอียดเพิ่มเติม

ด้ามฟรี 3/4″ ยาว 20″ G-SM-RH620 SMART

เป็นด้ามขันที่สามารถฟรีในทิศตรงข้ามกับที่เราต้องการจะไข คือไขแล้วดึงด้ามกลับมาแล้วไขต่อได้เลย ไม่ต้อง ยก หรือถอด ด้ามไขออกจากหัวน๊อต  ด้ามฟรีมีขนาด มาตรฐานหัวที่จะไปต่อกับบล๊อก( Drive Shaft) อยู่ 4-5  ขนาด คือ ¼” 3/8” ½” ¾” 1” ระยะทั้งหมดจะเป็น ด้านทั้งสี่ ของสี่เหลี่ยมจตุรัส เป็นตัวผู้ มีปุ่มเหล็กกลมๆโผล่ออกมาด้านหนึงเพื่อล๊อกลูกบล๊อกให้เข้ากับด้าม   ส่วนความยาวด้านก็แล้วแต่ผู้ผลิต ยิ่งยาวมาก ก็จะมีแรงขันมาก เพราะ แรงขัน เกิดจากแรงมือของเรา คูณ ด้วยระยะด้ามขัน  ทั้งนี้ ความยาวของด้านจะสัมพันธ์กับ ขนาด ของ Drive Shaft เพราะถ้าด้ามยาวเกินไปแรงที่กระทำต่อตัว Drive shaft  จะสูงเกินไปทำให้อุปกรณ์เสียหายได้
ด้ามฟรีจะมีการออกแบบเฟืองภายใน แตกต่างกัน โดย  บางยี่ห้อออกแบบให้ละเอียด บางยี่ห้อออกแบบให้หยาบ ที่พบจะเป็น 24 ,30 ,45 ,60 และ  72 ฟัน  ก็จะได้เปรียบกันคนละอย่าง เฟื่องหยาบก็ทนทานกว่า เฟืองละเอียดก็ไขด้ามฟรีได้ละเอียดกว่าแม้ในมุมที่แคบๆ  อย่าง 24 ฟัน จะมีมุม ขันเท่ากับ 360/24 =  15 องศา   72 ฟัน ก็จะมี มุมขัน 5 องศา   แปลว่าในที่แคบเราสามารถขยับด้ามฟรีเพียงนิดเดียวก็ไขน๊อตได้

Soclet หรือที่เราเรียกกันว่า “ลูกบ็อกซ์” หรือประแจบ็อกซ์ วัตถุดิบที่ใช้ทำส่วนใหญ่ คือ โครวาเนเดียม (Chrome Vanadium) กับโครมโมลิปเคนั่ม (Chrome Molybdenum) สามารถแยกออกเป็น 2 ประเภท คือ

1) Hand Socket คือ ลูกบ็อกซ์ชุบโครเมียม แบบใช้แรงคนกับใช้อุปกรณ์ช่วยขัน ราคาถูกกว่า แบบ Impact Socket

2) Impact Socket คือ ลูกบ็อกซ์ที่ใช้กับเครื่องยิงลม จะมีสีดำเท่านั้น ชุบแข็งโดยไม่ชุบโครเมี่ยมเพราะโครเมี่ยมจะแตกเมื่อเจอแรงบิดที่สูงๆ

การใช้งานลูกบ็อกซ์

ลูกบ็อกซ์เอาไว้ใช้สำหรับขันสกรูน็อตมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกปลายด้านหนึ่งจะเป็น 6,8,12 เหลี่ยมหรือท็อกซ์สามารถทำได้หลายรูปทรงตามน็อตสกรูที่จะใช้ขัน ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นหัวสี่เหลี่ยมไว้ใช้ต่อกับด้ามฟรี,ด้ามเลื่อน,ด้ามบ็อกซ์

ข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ มักจะลืมไปว่าหัวสกรู-น็อต มีทั้งขนาดมิลลิเมตรและนิ้ว จึงอาจวัดขนาดผิดพลาดได้ จะทำให้เกิดความเสียหายได้เมื่อนำลูกบ็อกซ์ไปใช้งาน ให้สังเกตุดูว่า สกรู-น๊อต ที่มาจากยุโรปและญี่ปุ่นจะใช้หน่วยเป็นมิลลิเมตร แต่ทางฝั่งอเมริกาจะใช้หน่วยวัดเป็นนิ้ว แต่แบบท๊อกซ์จะมีมาตรฐานเดียว หากนำลูกบ็อกซ์ 10 มิลไปขันน็อต 6 หุล ลูกบ็อกซ์จะเข้าได้ไม่พอดีกับขนาดที่ควรจะเป็น และถ้าฝืนขันต่อไปอาจทำให้ลูกบ๊อกซ์แตกได้หรือการนำ Hand Socket ไปใช้แทน Impact Socket จะไม่สามารถทนแรงบิดที่สูงมากจากเครื่องยิงบ๊อกซ์ลมได้ ก็จะทำให้ลูกบ๊อกซ์แตกและเกิดอันตรายได้

ดังนั้นควรเลือกใช้ลูกบ๊อกให้ถูกกับลัษณะงาน เพื่อป้องกันการเกิดอุตบัติเหตุและค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น

ข้อมูลทางเทคนิค

  • ลูกบ็อก (Socket) หรือประแจบ๊อกซ์ ผลิตจากวาเนเดียม Chrome Vanadium กับ โครมโมลิปเคนั่ม (Chrome Molybdenum) ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
  • Hand Socket  คือ ลูกบ๊อกซ์ชุบโครเมียม แบบใช้แรงคนกับใช้อุปกรณ์ช่วยขัน
  • Impact Socket คือ ลูกบ๊อกซ์ที่ใช้กับเครื่องยิงลม จะมีสีดำเท่านั้น ชุบแข็งโดยไม่ชุบโครเมียม เพราะโครเมียมจะทำให้แตกหักเมื่อเจอแรงบิดที่สูง

การใช้งานลูกบ๊อกซ์:

ลูกบ๊อก เอาไว้ใช้สำหรับขันสกรูน็อต ซึ่งเป็นรูปทรงกระบอกปลายด้านหนึ่ง จะเป็น 6, 8, 12, เหลี่ยมหรือท๊อกซ์(Trox) สามารถทำได้หลายรูปทรงตามน็อตสกรู ที่จะใช้ขัน ส่วนอีกด้านหนึ่งจะเป็นหัวสี่เหลี่ยมไว้ใช้ต่อกับด้ามฟรี, ด้ามเลื่อน, ด้ามบ๊อกซ์

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  • ข้อผิดพลาดส่วนใหญ๋ ลูกค้ามักจะลืมไปว่าหัวสกรู-น็อต มีทั้งขนาดมิลลิเมตรและนิ้ว จึงอาจวัดขนาดผิดพลาดได้ จะทำให้เกิดความเสียหายได้ ให้สังเกตดูดว่า สกรู-น็อต ที่มาจากยุโรปและญี่ปุ่น จะใช้หน่วยมิลลิเมตร แต่ทางด้านอเมริกาจะใช้หน่วยวัดเป็นนิ้ว ส่วนแบบท็อกซ์จะมีมาตรญานเดียว หากนำลูกบ๊อกซ์ 10 มิลไปขันน็อต 6หุน ลูกบ๊อกซ์จะไม่สามารถเข้าได้พอดีหากฝืนขันต่อไป อาจจะทำให้ลูกบ๊อกซ์แตกได้หรือการนำ Hand  Socket ไปใช้แทน Impact Socket จะไม่สามารถทนแรงบิดที่สูงมากจากเครื่องยิงบิ๊กซ์ลมได้ ก็จะทำให้ลูกบ๊อกซ์แตกและเกิดอันตรายได้
  • ดังนั้นควรเลือกใช้ลูกบ๊อกซ์ให้ถูกลักษณะของงาน KOKEN มีลูกบ๊อกซ์คุณภาพมาตรฐาน จากญี่ปุ่น ซึ่งมีทั้ง Hand Socket และ Impact Socket ทั้งแบบหุนและแบบมิลไว้ให้ลูกค้าเลือกซื้อเลือกใช้
  • งานใช้เครื่องมือตามลักษณะงาน เช่น ขัน, ถอดน็อต, สกรู ซึ่งเหมาะสำหรับงานหนัก และงานรถเล็ก-รถใหญ่และงานอื่นๆ

*สนใจสอบถามเพิ่มเติม 082-078-5222 อีเมล. s.t.inter@hotmail.com  Line : @stinter