รายละเอียดเพิ่มเติม

หินเจียรสีเขียว GC 6″x3/4″ (1-1/4”,1″,3/4”,5/8″,1/2”) 120K

Grinding Wheel GC 6″x3/4″ (1-1/4″,1″,3/4″,5/8″,1/2″ 120K

เกรดของหินในกระบวนการผลิตต่างๆ

  • A-F ใช้กับคาร์ไบต์ และเหล็กกล้าเครื่องมือที่แข็งมากๆ (Extremely Hard Tool Steel) วัสดุแก้วและกระจก งานเจียรนัย ที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับหินเจียรนัยมากงานที่ต้องการเจียรนัย เอาเนื้อชิ้นงานออกอย่างรวดเร็ว
  • G-F ใช้กับเหล็กกล้าเครื่องมือชุบแข็งทั่วไป (Hardened Tool Steel)
  • Q-S ใช้กับชิ้นงานโลหะที่ไม่ใช่เหล็ก งานเจียรนัยเหล็กที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสแคบ ซึ่งหินเจียรนียมักแตกหักหรือสึกง่าย งานเจียรนัยใช้กำลังมาก
  • T-Z ใช้กับโลหะที่ไม่ใช่เหล็กและมีเนื้อนิ่มมากหรืองานที่ต้องใช้ความเร็วรอบสูงมาก

เกรดของหิน

  • soft (นิ่ม) หมายถึงส่วนผสมของตัวประสาน (Bond) น้อยจะส่งผลทำให้หินนิ่มถ้ากาวน้อยและเม็ดหินอยู่ห่างกัน เวลาใช้งานเม็กหินจะหลุดออดได้ง่าย
  • Hard (แข็ง) หมายถึงส่วนผสมของตัวประสาน (Bond) จะมากส่งผลทำให้หินแข็ง

โครงสร้างหิน

  • ลักษณะช่องว่างระหว่างผงขัดที่ยึดติดบนหินเจียรถ้ามีช่องว่างน้อยๆเรียกกว่า Dense structure ถ้าอยู่ห่างกันเรียกว่า Open Structure
  • Dense structure เหมาะกับการเจียระไนที่ต้องการผิวที่มีความละเอียดมาก
  • Open structure เหมาะกับการเจียระไนที่ต้องการให้เศษหลุดออกง่าย

กาวที่ใช้ยึดติด

  • METAL BOND แข็งที่สุด อายุใช้งานยาว ทำงานเร็ว เปลี่ยนรูป ยากแก่การปรับแต่งหิน
  • RESIN BOND อายุการใช้งานกลาง การทำงานเร็ว เปลี่ยนรูป ปรับแต่งหน้าง่ายสามารถใช้ขัดมันได้

เหมาะสำหรับ

  • ใช้งานขัดประเภทวัสดุแข็ง คาร์ไบด์ ทังสเตน ไทเทเนี่ยม ทองแดง ทองเหลือง อลูมิเนียม และ อโลหะ

วิธีใช้

  • ใช้กับเครื่องมอเตอร์หินไฟ

ขนาดรู

คำแนะนำ

  • ตรวจสอบโดยการเคาะฟังเสียงเคาะรอบๆหินเจียรเบาๆด้วยไม้แข็ง แล้วฟังเสียง ถ้ามีเสียงก้องคล้ายเสียงเคาะเหล็ก แสดงว่าหินเจียรไม่มีรอยแตกร้าว แต่ถ้าเสียงไม่ก้องอาจจะเกิดจากรอยแตกร้าว
  • การประกอบหินเจียรเข้ากีบหน้าจานของเครื่อง ควรยึดจานด้านในให้แน่น โดยใช้ลิ่มช่วยในการยึดและหน้าจานจะต้องร่วมศูนย์กับเพลา (Spindle) ของเครื่อง เส้นผ่านศูนย์กลางของรูกลางของหินเจียรควรโตกว่าเพลาเล็กน้อย กรณีหน้าจารโตมากๆควรมีส่วนเว้าของหน้าจานด้านที่ประกบกับหิน ส่วนของหน้าจานที่สัมผัสกับหินเจียรควรเสริมด้วยกระดาษหรือแผ่นยางบางๆ ขนาดของหน้าจานทั้งสองข้างควรมีขนาดเท่ากัน
  • ถ่วงหิน ถ้าหินที่มีขนาดโตควรทำการถ่วงหิน (Balancing) หินเจียรก่อนทุกครั้ง
  • ทดสอบการหมุน หลังจากประกอบหินเจียรเข้ากับเครื่อง ก่อนทำการเจียรชิ้นงานควรทดสอบการหมุนของหินเจียรที่มีความเร็วรอบปกติประมาณ 3 นาที และ ไม่ควรยืนตรงหน้าหินเจียรที่กำลังหมุน
  • การเก็บรักษา ควรเก็บรักษาหินเจียรไว้ในที่ที่ไม่โดนน้ำมัน น้ำ ฝุ่นละออง และไม่ให้หินเจียรสัมผัสโดยตรงกับความร้อน

คำเตือน

  • ควรเคลื่อนย้ายหินเจียรด้วยความระมัดระวัง ไม่ควรให้หล่น กระแทกกับของแข็งหรือของมีคม
  • ควรตรวจสอบหินเจียรว่ามีรอยร้างหรือไม่ก่อนใช้งาน
  • ควรตรวจสอบความเร็วรอบของเครื่องว่าเหมาะสมกับหินเจียรหรือไม่
  • ไม่ควรติดตั้งหินเจียรโดยการฝืน หรือดัดแปลงขนาดรูกลาง
  • ควรตั้งระยะระหว่างชิ้นงานกับหินเจียรให้เหมาะสม ไม่ควรห่างเกิด1/8″
  • ควรมีฝาครอบควรห่างจากหินเจียรป้องกันการแตกกระจายของหิน ฝาครอบควรมีช่องเปิดสำหรับหินเจียร
  • ฝาครอบควรห่างจากหินเจียรเกิน 1 นิ้ว หรือเกือบ หรือเกือบ 1 นิ้ว และควรเปิดลิ้นช่องหินให้เหมาะสม
  • ไม่ควรใช้ด้านข้างของหินเจียร เพราะอาจจะทำให้หินแตกได้
  • ควรเลือกใช้หินเจียรให้ถูกต้องเหมาะสมกับวัสดุที่ต้องการเจียร
  • ควรเลือกใช้หินเจียรกับเครื่องจักรที่มสภาพดี พร้อมใช้งาน
  • ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันตา ระบบหายใจ และ ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง

 

ความหยาบของเม็ดทราย

หยาบ (Coarse)
8,10,12,14,16,20,24
ปานกลาง (Medium)
30,35,46,54,60
ละเอียด (Fine)
80,100,120,150,180
ละเอียดมาก (Very Fine)
220,240,280,320,400,600

การแบ่งเกรดจาก A-Z (A คือเกรดนิ่มสุด จนถึง Z เกรดแข็งที่สุด)

soft (นิ่ม)
B,D,E,F,G,H
Medium (ปานกลาง)
I,J,K,L,M,N,O,P
Hard (แข็ง)
Q,R,S,T,U,V,W,X,Y,Z