รายละเอียดเพิ่มเติม

เกจ์น้ำมัน 40mm.x150barx1/8″ ออกหลัง

Oil Pressure Gauge 40mm.x150barx1/8″ Back center connector

เกจ์วัดแรงดัน Pressure Gauge แบบน้ำมัน ออกหลัง sumo

  • เกจวัดแรงดันแบบมีน้ำมันกลีเซอรีน (Glycerin Pressure Gauge)
  • ตัวเรือนผลิตจากเหล็ก ทนทาน หน้าปัดผลิตจาก โพลีคาร์บอเนต มีความแข็งมาก ทนทานจากรอยขีดข่วน
  • เกลียวเชื่อมต่อด้านล่าง ผลิตจากทองเหลือง 100% ทนทาน
  • ใช้วัดค่าแรงดันน้ำ แก๊ส ลม หรือ น้ำมัน
  • บอกค่า Bar บาร์ (ระบบ SI) กับ PSI และ lbf/in2 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
  • Kgf/cm2 กิโลกรัม แรงต่อตารางเซนติเมตร (ระบบแมติก) ที่นิยมเรียกว่า กิโล
  • เหมาะกับงานอุตสาหกรรมทุกชนิด ภาคอุตสาหกรรม ระบบชลประทานและงานเครื่องยนต์
  • เช่นอุตสาหกรรอาหาร เคมี พลาสติก เป็นต้น สามารถนำไปใช้ได้ตามความต้องการ
  • เหมาะสำหรับติดตั้งในที่ที่มีการสั่นสะเทือน น้ำมันกลีเซอรีน/ซิลิโคนออยล์ จะช่วยลดการสั่นของเข็มและช่วยลดแรงกระชาก ของแรงดัน เช่น ในกรณีที่มีการเปลี่ยนความดันฉับพลัน ทำให้อายุการใช้งานนานขึ้น

คุณสมบัติ (Feature)

  • เกจ์วัดแรงดัน แบบแห้ง เหมาะสำหรับงานวัดแรงดันทั่วไป
  • บอดี้เหล็ก
  • น้ำมันหรือของเหลวที่อยู่ใน pressure gauge คือ “Glycerine” กลีเซอรีนเป็นของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีความหนืดโดยได้มาจากน้ำมันจากพืชเช่นจากปาล์ม เป็นต้น กลีเซอร์รีนสามารถละลายได้ในน้ำและแอลกอฮอล์ และเป็นสารที่ไม่มีพิษ กลีเซอร์ลีนจึงนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตเครื่องสำอาง สบู่ ยาสีฟันอื่นๆอีกมากมาย ยังช่วยในการหล่อลื่นได้เป็นอย่างดี

 

 

ประโยชน์จากการเติม Glycerin ใน Pressure gauge

1.ความหนืดของ Glycerin จะช่วยดูดซับแรงดันกระชากจากของเหลวหรืออากาศที่เราวัด(shock pressure) ได้เป็นอย่างดี

2.ประโยชน์ของความหนืดใน Glycerin ที่สำคัญอีกอย่างคือ ป้องกันการสั่นสะเทือนจากภายนอก เช่นการติดตั่ง pressure gauge บนเครื่องจักรที่ทำงานตลอดเวลา

3.Glycerin ช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนภายใน pressure gauge ให้ทำงานได้อย่างยาวนานมากขึ้น

4.Glycerin ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการสั่น

5.Glycerin ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

6.Glycerin ช่วยลดฟองอากาศที่เกิดขึ้นจากการเลี่ยนแปลงของความดันในจุดที่เราวัด

คำเตือน

  • แถบฟ้า : คือช่วงแรงดันที่เหมาะสมในการใช้งาน
  • แถบเหลือง : คือไม่ควรใช้แรงดันเกินแถบสีเหลือง
  • แถบสีแดง : เป็นช่วงแรงดันที่จะทำให้เกจ์เสีย
  • หากอยู่ในอุณหภูมิเย็นจัดจะเกิดปัญหาไอน้ำจับกันเป็นหยดน้ำ หรือเป็นฝ้าข้างในทำให้อ่านค่าไม่ได้

คำแนะนำ

  • วิธีการเลือกใช้เกจ์ที่ถูกต้องคือ ต้องใช้เกจ์ขนาดแรงดัน
  • ที่มากกว่า 3 เท่า ของแรงดันที่ต้องการใช้งาน
  • เช่น หากต้องการวัดแรงดันที่ 10 bar ต้องใช้เกจ์ที่ 30 bar
  • การใช้งานเกจวัดแรงดัน ผู้ใช้ควรจะทราบถึงระบบการทำงานต่างๆของอุปกรณ์ที่ต้องการวัดแรงดันอย่างถูกต้อง
  • และเลือกชนิด ขนาดและเกลียวข้อต่อของเกจวัดแรงดันให้เหมาะสมกับประเภทงาน หลังจากนั้นทำการติดตั้งเข้า
  • กับระบบการทำงานของอุปกรณ์ทันที โดยผู้ใช้งานจะสามารถวัดและอ่านค่าการเปลี่ยนแปลงของแรงดันได้จาก
  • หน้าปัดของเกจ ซึ่งจะทำให้ทราบค่าความดันภายในอุปกรณ์ได้อย่างละเอียดแม่นยำ และยังสามารถวัดแรงดันใน
  • การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ ได้