เกลียวปล่อยยึดยิบซั่ม หัวเตเปอร์ JF+ Drywall Screw DW 6010
เกลียวปล่อยยึดยิบซั่ม หัวเตเปอร์ JF+ Drywall Screw
สกรูยึดแผ่นยิบซั่ม สำหรับงานฝ้าและงานตกแต่งภายใน *สนใจสอบถามเพิ่มเติม 082-078-5222 อีเมล. s.t.inter@hotmail.com Line : @stinterสนใจสอบถามเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม
เกลียวปล่อยยึดยิบซั่ม หัวเตเปอร์ JF+ Drywall Screw DW 6010
สกรูเกลียวปล่อย (Self Tapping Screw) เป็นอุปกรณ์งานช่างที่ใช้สำหรับเจาะและยึดวัสดุชนิดต่างๆจำนวนสองชิ้นเข้าด้วยกันอย่างแน่นหนา เช่น งานไม้ งานพลาสติก หรืองานโลหะแผ่นบางเป็นหลัก โดยสามารถใช้ไขควงธรรมดา สว่านไฟฟ้า และประแจทำการไขและคลายที่หัวสกรูได้ทันทีไม่จำเป็นต้องใช้น็อตตัวเมียยึดที่ปลายเกลียว ซึ่งลักษณะเด่นของสกรูเกลียวปล่อยคือ ส่วนเกลียวจะมีความคม สัดส่วนเท่ากัน และเป็นปลายแหลม ทำให้สามารถเจาะเข้าเนื้อของวัสดุได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากปัจจุบันได้มีการพัฒนาสกรูเกลียวปล่อยออกมาหลากหลายรูปแบบ เช่น วัสดุของสกรู, รูปแบบของหัวสกรู, แฉกสกรู, ลักษณะส่วนปลายของสกรู และความยาวของเกลียว ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีคุณสมบัติการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นจึงควรเลือกใช้สกรูเกลียวปล่อยให้เหมาะสมกับงานเพื่อการเจาะและยึดวัสดุได้อย่างมั่นคงแข็งแรง
นิยามที่นำมาเรียกกัน ในงานเจาะ
1.เจาะนำ คือการเจาะให้ขนาดรูเจาะ เล็กกว่าหรือเท่ากับ ขนาดโคนเกลียว(เส้นผ่าศูนย์กลางที่ไม่รวมเกลียว) และถ้าเป็นงานไม้ เช่นไม้เนื้ออ่อน เหนียว อาจไม่ต้องการเจาะนำช่วยก็ได้ (นิยมเจาะไม้เนื้อแข็ง หรือใกล้หัวไม้ที่อาจแตกง่าย หรือ พวก MDF ปาร์ติเกิล พวกนี้เกลียวปล่อยอาจจะเบ่งจนไม้บวม แตกได้ ถ้าไม่ช่วยการเจาะนำ)
2.เจาะผ่าน คือการเจาะให้มีขนาดรูเจาะ ใหญ่กว่าเกลียวภายนอกของเกลียวปล่อยเล็กน้อย นิยมเจาะชิ้นงานที่อยู่ด้านบนของการเจาะยึด เพื่อให้เป็นตัวฟรีเมื่อเกิดการดูดของเกลียวปล่อย
3.เจาะผาย(เจาะคว้าน) คือการเจาะเพื่อฝังหัวเกลียวปล่อย ให้จมลึกลงไปในเนื้อไม้ บางทีเนื้อไม้อ่อน ก็จะดูดหัวจมไปเอง
สรุป การเจาะทั้งหมดต้องมี3ดอก คือ ดอกเจาะนำ ดอกเจาะผ่าน และดอกคว้านหัว การยกเลิกดอกเจาะนำ และเจาะคว้าน อาจทำได้ แล้วแต่กรณีไป แต่ดอกเจาะผ่านต้องคงไว้เสมอ
หน้าที่ของสกรูคือการเป็นตัวเชื่อมให้วัสดุทั้ง2อย่างยึดติดกันอย่างแน่นหนา ไม่หลุดง่ายๆ ซึ่งคิดว่าทุกๆคนคงจะเคยใช้ ได้ใช้มาบ้างแล้ว แต่ก็อาจจะมีการใช้งานที่ผิดๆ จนอาจจะเป็นสาเหตุให้ได้งานไม่ตรงตามที่คาดหวังไว้ หรือการยึดติดกันไม่สามารถทำได้ดีเท่าที่ควร ทั้งๆที่เราก็ขันสกรูจนแน่นแล้ว เป็นเพราะสาเหตุใดวัสดุจึงไม่ยึดติดกันได้ดี ทั้งนี้เรามาดูสาเหตุกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
สกรูเกลียวปล่อยจะต้องเป็นนำดึงวัสดุทั้งสองชิ้นเข้าด้วยกันเอง ดังนั้นการเจาะรูนำจะต้องมีเทคนิด คือ สิ่งที่ถูกต้องเราจะต้องเจาะรูนำสำหรับวัสดุชิ้นแรก และเจาะรูผ่านไปจนถึงชิ้นที่ สอง แต่เราจะต้องเจาะรูผ่านโดยใช้ดอกสว่านที่มีขนาดใหญ่กว่าสกรูเกลียวปล่อยที่เราจะใช้ เช่น สกรูมีขนาด 3.8 มม. เราจะต้องใช้ดอกเจาะผ่านใหญ่กว่าสักประมาณ 4 มม. เพื่อให้วัสดุชิ้นแรก ใหญ่กว่าตัวเกลียวเล็กน้อยเพื่อให้เกลียวได้มีโอกาสดึงวัสดุชิ้นที่ 2 เข้าด้วยกัน
แล้วถ้าเราใช้ดอกเจาะรูผ่านที่เล็กกว่าเกลียวล่ะ การที่เจาะรูได้คับและแน่นๆนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ควรทำหรอกหรือ คำตอบคือ จากการทดลองโดยใช้ดอกเจาะรูผ่านที่เล็กกว่านั้น ไม่ก่อให้เกิดผลดีแต่ประการใด ถึงแม้ว่าจะขันสกรูแน่นแล้ว จนขันต่อไปไม่ได้ แผ่นวัสดุทั้งสองชิ้นก็ยังมีช่องว่างระหว่างกันอยู่ ไม่รู้สึกถึงความแน่นหนาแต่อย่างใด หากเราอัดกาวไว้ด้วย กาวก็จะไม่มีอาการโดนบีบจนเนื้อกาวแทรกซึมออกมาให้เห็น
เกลียวปล่อยยึดยิบซั่ม หัวเตเปอร์ JF+ Drywall Screw
สกรูยึดแผ่นยิบซั่ม สำหรับงานฝ้าและงานตกแต่งภายใน
*สนใจสอบถามเพิ่มเติม 082-078-5222 อีเมล. s.t.inter@hotmail.com Line : @stinter