เครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์แบบอาร์ค รุ่น ARC300S
สนใจสอบถามเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม
เครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์แบบอาร์ค รุ่น ARC300S กระแสไฟเชื่อม 20-300 แอมป์ แรงดันไฟ 220 โวลต์ ขนาดลวดที่ใช้ 1.6-5.0 มม. ระบบ IGBT มีกระแสไฟในการเชื่อมนิ่ง มีระบบป้องกันไฟกระชาก (เจสิค)
ARC300S(300) เครื่องเชื่อม 1 PH(JASIC)
คุณภาพเยี่ยมหมดปัญหาไฟกระชากมั่นใจในแบรนด์ต้อง JASIC
Description
เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น ARC-300S
เป็นเครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์แบบอาร์ค
ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส (220 โวลต์) กระแสเชื่อม 300 แอมป์ มีระบบป้องกันไฟกระชาก
OVER-VOLTAGE และ OVER-CURRENT ประหยัดกระแสไฟฟ้า สามารถเชื่อม
เหล็ก สแตนเลส และอลูมีเนียม ใช้ลวดเชื่อมทั่วไปได้เกือบทุกชนิดเป็นรุ่นยอด
นิยมเนื่องจากใช้งานได้หลากหลายสุดยอดนวัตกรรมเครื่องเชื่อมที่ใครๆต่างตามหา
รีบมาเป็นเจ้าของกันเร็วๆนะ ช้า หมด อดใช้ของดี
จุดเด่น
– เทคโนโลยีระบบ IGBT มีกระแสไฟในการเชื่อมนิ่ง เรียบ
ไม่เกิดการกระตุกระหว่าง
การเชื่อม
– ระบบการวางแผงวงจรด้านในค่อนข้างดีมาก ทำให้ระยะการโอนถ่ายเทได้ดี
ข้อมูลทางเทคนิค
- กระแสไฟเชื่อม 20 – 300 Amp
- ระดับความเป็นฉนวน F
- แรงดันไฟฟ้า 220 ± 15% (1Phase) / 50/60 Phase/Hz
- กระแสไฟเข้า 56.8 Amp
- น้ำหนัก 9.5 Kilograms
- แรงดันไฟในการเชื่อม 300/30 Amp/Volt
- แรงดันไฟจ่ายขณะไร้ภาระ 67 Volt
- ขนาดลวดที่ใช้ 1.6 – 4.0
- ประสิทธิภาพ 87 %
- ความสามารถ 60 %
- ขนาดเครื่อง 410 x 152 x 235
รับประกัน 2 ปี ตามเงื่อนไขผู้ผลิต
ภาพรวม (Product Overview)
เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น ARC-300S เป็นเครื่องเชื่อมระบบอินเวอร์เตอร์แบบอาร์ค ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส (220 โวลต์) กระแสเชื่อม 300 แอมป์ มีระบบป้องกันไฟกระชาก OVER-VOLTAGE และ OVER-CURRENT ประหยัดกระแสไฟฟ้า สามารถเชื่อมเหล็ก สแตนเลส และอลูมีเนียม ใช้ลวดเชื่อมทั่วไปได้เกือบทุกชนิดเป็นรุ่นยอดนิยมเนื่องจากใช้งานได้หลากหลาย
จุดเด่น (Features)
– เทคโนโลยีระบบ IGBT มีกระแสไฟในการเชื่อมนิ่ง เรียบ ไม่เกิดการกระตุกระหว่างการเชื่อม
– ระบบการวางแผงวงจรด้านในค่อนข้างดีมาก ทำให้ระยะการโอนถ่ายเทได้ดี
บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น ARC-300S บรรจุในกล่องกระดาษแข็ง มีวัสดุกันกระแทกทั้งด้านหน้าและหลังของตัวเครื่องเพื่อกันกระแทก
อุปกรณ์ทั้งหมดในกล่อง (Products and Accessories)
1. เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น ARC-300S
2. สายเชื่อม 300 แอมป์ ขนาด 25 ตร.มม. ยาว 7 ม.
3. สายดิน 300 แอมป์ ขนาด 25 ตร.มม. ยาว 5 ม.
4. หน้ากากเชื่อม แปรงลวด และค้อนเคาะสแลค
5. คู่มือการใช้งานภาษาอังกฤษและใบรับประกัน
การใช้งาน (Applications)
เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น ARC-300S มีความทนทาน ใช้งานได้ในขณะแรงดันไฟไม่คงที่ สามารถปรับกระแสไฟเชื่อมได้ตามความต้องการ กระแสไฟเชื่อมออกมาเต็ม กินไฟน้อย การอาร์คนิ่มนวลควบคุมการเชื่อมได้ง่าย สะเก็ดไฟเชื่อมน้อยใช้ได้กับลวดเชื่อมทุกชนิดตั้งแต่ขนาด 1.6 – 4.0 มิลลิเมตร สำหรับการเชื่อมโลหะที่หลากหลาย เช่น เหล็ก เหล็กคาร์บอน สแตนเลส และอื่นๆ เหมาะสำหรับการเชื่อมทุกประเภทที่ต้องการคุณภาพและต้องการสมรรถนะของเครื่องเชื่อมที่สามารถทนงานหนักได้ เช่น งานซ่อมบำรุง งานอุตสาหกรรม งานโครงสร้าง งานก่อสร้าง และงานเชื่อมอื่นๆ
วิธีการใช้งาน (How to use)
– เครื่องเชื่อม JASIC รุ่น ARC-300S ตัวเครื่องมีสายไฟเป็นแบบปลั๊กเสียบ ที่มาพร้อมกับตัวเครื่อง คือ สายเชื่อมและสายดิน ซึ่งการต่อสายเชื่อมและสายดินเข้ากับตัวเครื่องจะต้องต่อที่ข้อต่อเกลียวด้านหน้าของตัวเครื่อง ซึ่งจะมีสัญลักษณ์และสีที่ข้อต่อชัดเจน
สายเชื่อมต่อเข้ากับข้อต่อเกลียวสีแดงที่เป็นเครื่องหมาย +
สายดินต่อเข้ากับข้อต่อเกลียวสีดำ ที่เป็นเครื่องหมาย –
– หลังจากที่เราต่อสายเชื่อมกับสายดินเรียบร้อยแล้วให้เสียบปลั๊กไฟและกดสวิตซ์เปิดเครื่อง สังเกตว่าสวิตซ์ไฟหน้าเครื่อง ON/OFF สีแดงจะติดอยู่ และพัดลมระบายความร้อนด้านหลังจะหมุน
– ปรับกระแสไฟในการเชื่อมให้เหมาะกับงานซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของลวดเชื่อม และชิ้นงาน เช่น ลวดเชื่อม 2.6 มิลลิเมตร กระแสไฟปรับอยู่ที่ 50 – 70 แอมป์
– นำสายดินไปจับกับชิ้นงาน
– นำคีมคีบลวดเชื่อมโดยให้ลวดเชื่อมให้อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับคีมจับลวดเชื่อม 90 องศา และจับคีมเชื่อมทำมุม 45 องศากับชิ้นงาน กดลวดเชื่อมลงไปแตะบนแผ่นเหล็กเบาๆ แล้วยกขึ้นโดยเร็วเมื่อเกิดการอาร์คโดยบังคับทิศทางให้ลวดเชื่อมเคลื่อนที่ไปครั้งละ 2 – 3 มิลลิเมตร สามารถกำหนดทิศทางการเชื่อมได้ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง
ข้อควรปฏิบัติ/ข้อควรระวังในการใช้งาน (Do and Don’t)
– ก่อนใช้งานทุกครั้ง ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตาสำหรับงานเชื่อม ถุงมือหนัง ชุดกันสะเก็ดไฟ รองเท้าเซฟตี้ และอื่น ๆ
– ตรวจสอบกำลังไฟของแหล่งจ่ายไฟให้ถูกต้องตามกำลังไฟของเครื่องเชื่อมรุ่นนั้น
– ตรวจสอบข้อต่อสายเชื่อม และสายดินทุกครั้งก่อนที่จะทำการเชื่อม รวมถึงปลั๊กไฟและปลั๊กพ่วงต่างๆ
– ตรวจสอบพัดลมระบายความร้อน ว่ามีการใช้งานได้ปกติหรือไม่
– ห้ามใช้งานใกล้กับวัสดุที่ติดไฟง่าย หรือสารไวไฟ
– ขณะใช้งานต้องต่อสายดินทุกครั้งในการใช้งาน
– การเชื่อมที่ใช้กระแสไฟสูง ต้องใช้สายไฟที่ทนกระแสสูงได้
การบำรุงรักษา (Maintenance)
– หลังจากหยุดการใช้เครื่องแล้ว ควรปล่อยให้พัดลมระบายอากาศของเครื่องทำงานอย่างน้อย 10 – 15 นาที โดยเปิดเครื่องค้างไว้เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนไปสะสมที่แผนวงจร และป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์ภายใน
– ควรจะเป่าฝุ่นออกอย่างน้อยเดือนละ 1 – 2 ครั้ง เพราะฝุ่นละอองเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ เกิดความเสียหายได้ ถ้ามีการสะสมมากๆจะทำให้ระบบวงจรบกพร่อง การไหลของวงจรกระแสไฟไม่ดีเท่าที่ควร