VOM160 เครื่องเชื่อม (IGBT)
VOM160 เครื่องเชื่อม (IGBT)
เครื่องเชื่อมอินเวิร์ทเตอร์ วาลู (VALU) รุ่น VOM160 กระแสเชื่อม 160 แอมป์ เป็นเครื่องเชื่อมระบบอินเวิร์ทเตอร์ แบบ MMA (Manual Matal Arc Welding) ขนาดกระทัดรัด น้ำหนักเบาเพียง 3.5 กก. เคลื่อนย้ายง่าย กระแสไฟ เชื่อมคงที่ กันไฟกระชากประเหยัดกระแสไฟฟ้า คุณภาพดี แนวเชื่อมมีความเรียบและสวย ใช้ลวดเชื่อมทั่วไปได้ เกือบทุกชนิด *สนใจสอบถามเพิ่มเติม 082-078-5222 อีเมล. s.t.inter@hotmail.com Line. ooxzyสนใจสอบถามเพิ่มเติม
รายละเอียดเพิ่มเติม
สารบัญ | WELDING EQUIPMENT |
มิติ(ตัวสินค้า)(กว้างxยาวxสูง) | 215X350X270 มม./MM |
น้ำหนัก | 3.5 KG |
ภาพรวม (Product Overview)
ป็นเครื่องเชื่อมระบบ INVERTER แบบ MMA ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา ระบบ IGBT ให้กระแสไฟเชื่อมได้ตามความต้องการ การอาร์คนิ่มนวล ควบคุมการเชื่อมได้ง่าย กระแสเชื่อมที่ 20 – 160 แอมป์ ตัวเครื่องถูกออกแบบ ให้มีขนาดเล็กพกพาง่าย สะดวกต่อการใช้งาน แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ กำลังไฟฟ้า 5.7 กิโลโวลต์แอมป์ น้ำหนัก 4.3 กิโลกรัม ใช้สำหรับงานเชื่อมเหล็กทั่วไป และเหล็กหล่อหรือเชื่อมโครงสร้าง ใช้ได้กับลวดเชื่อมทุกชนิดตั้งแต่ขนาด 1.6 – 3.2มิลลิเมตร
จุดเด่น (Features)
– มีระบบ IGBT ช่วยให้กระแสไฟในการเชื่อมเรียบเสมอตลอดการเชื่อม
– มีระบบ ANTI STICKING ป้องกันลวดติดในระหว่างการใช้งาน
– มีระบบ HOT START เริ่มต้นการเชื่อมง่าย กระแสแอมป์ค่อนข้างต่ำ กระแสไฟเชื่อมคงที่ ทำให้เชื่อมได้ต่อเนื่องโดยไม่สะดุด
– สามารถเชื่อมโลหะได้หลายประเภท เช่น เหล็ก สแตนเลส เหล็กหล่อ เป็นต้น
– มีหน้าจอแสดงผลในรูปแบบดิจิตอลง่ายต่อการปรับระดับความแรงตามต้องการได้
บรรจุภัณฑ์ (Packaging)
เครื่องเชื่อม VALU รุ่น VOM-160 บรรจุในกล่องกระดาษแข็งอย่างดี ภายในบรรจุด้วยโฟมทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวเครื่อง เพื่อกันกระแทก
อุปกรณ์ทั้งหมดในกล่อง (Products and Accessories)
- เครื่องเชื่อม VALU รุ่นVOM-160
- หน้ากากป้องกันแสง + คู่มือการใช้งานและใบรับประกันสินค้า
- มือจับหน้ากากป้องกันแสง + แปรงลวดทำความสะอาด
- สายดิน 160A 16ตารางมิลลิเมตร x 1.5 เมตร + สายเชื่อม 160A 16 ตารางมิลลิเมตร x 1.8 เมตร
การใช้งาน (Applications)
มีระบบ HOT START เริ่มต้นการเชื่อมง่าย กระแสแอมป์ค่อนข้างต่ำ กระแสไฟเชื่อมคงที่ ทำให้เชื่อมได้ต่อเนื่องโดยไม่สะดุด ใช้ได้กับลวดเชื่อมทุกชนิดตั้งแต่ขนาด 1.6 – 3.2 มิลลิเมตร เหมาะสำหรับการเชื่อมโลหะทั่วไป เช่น เหล็ก คาร์บอน สแตนเลส และอื่นๆ ที่ต้องการคุณภาพของชิ้นงาน
วิธีการใช้งาน (How to use)
การต่อสายเชื่อมมี 2 แบบ
– ต่อแบบที่ 1 คือการต่อสายดินเข้ากับขั้ว ( + ) ความร้อนอยู่ที่ 70% และสายหัวเชื่อมเข้ากับขั้ว ( – )ความร้อนอยู่ที่ 30% ของตัวเครื่องจะทำให้ชิ้นงานมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของความร้อนที่เกิดจากการอาร์คทั้งหมดทำให้มีผลต่อการซึมลึกเหมาะสำหรับเชื่อมชิ้นงานที่มีความหนา
– ต่อแบบที่ 2 คือการต่อสายหัวเชื่อมเข้ากับขั้ว ( + ) ความร้อนอยู่ที่ 70% และสายดินเข้ากับขั้ว ( – )ความร้อนอยู่ที่ 30% ของตัวเครื่องจะทำให้ลวดเชื่อมมีความร้อนเกิดขึ้นประมาณ 2 ใน 3 ของความร้อนที่เกิดจากการอาร์คทั้งหมดทำให้มีผลต่อการซึ่มลึก เหมาะสำหรับเชื่อมชิ้นงานที่ต้องให้รอยเชื่อมนูนสูงขึ้นเพื่อได้รอยเชื่อมที่สวยงาม
– หลังจากที่เราต่อสายเชื่อมกับสายดินเรียบร้อยแล้วให้เสียบปลั๊กไฟและกดสวิตซ์เปิดเครื่อง สังเกตว่าสวิตซ์ไฟหน้าเครื่อง (ON – OFF) สีแดงจะติดอยู่ และพัดลมระบายความร้อนด้านหลังจะหมุน
– ปรับกระแสไฟในการเชื่อมให้เหมาะกับงาน ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของลวดเชื่อมและชิ้นงาน เช่น ลวดเชื่อม 3.2 มิลลิเมตร กระแสไฟปรับอยู่ที่ 100 – 120 แอมป์
– นำคีมคีบลวดเชื่อมโดยให้ลวดเชื่อมให้อยู่ในต่ำแหน่งตั้งฉากกับคีมจับลวดเชื่อม 90 องศา และจับคีมเชื่อมทำมุม 45 องศากับชิ้นงาน
– เตรียมเหล็กและลวดเชื่อมแบบธูป (แผ่นเหล็กพื้นผิวจะต้องสะอาดไม่มีสีหรือสนิมเหล็ก) กดลวดเชื่อมลงไปแตะบนแผ่นเหล็กเบาๆ แล้วยกขึ้นโดยเร็วเมื่อเกิดการอาร์ค โดยบังคับทิศทางให้ลวดเชื่อมเคลื่อนที่ไปครั้งละ 2 – 3 มิลลิเมตร สามารถกำหนดทิศทางการเชื่อมได้ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง
ข้อควรปฏิบัติ/ข้อควรระวังในการใช้งาน (Do and Don’t)
– ก่อนใช้งานทุกครั้ง ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น แว่นตาสำหรับงานเชื่อม ถุงมือหนัง ชุดกันสะเก็ดไฟ รองเท้าเซฟตี้ และอื่นๆ
– ตรวจสอบกำลังไฟของแหล่งจ่ายไฟให้ถูกต้องตามกำลังไฟของเครื่องเชื่อมรุ่นนั้น
– ตรวจสอบข้อต่อสายเชื่อม และสายดินทุกครั้งก่อนที่จะทำการเชื่อมรวมถึงปลั๊กไฟ และปลั๊กพ่วงต่างๆ
– ตรวจสอบพัดลมระบายความร้อนว่ามีการใช้งานได้ปกติหรือไม่
– ห้ามใช้งานใกล้กับวัสดุที่ติดไฟง่าย หรือสารไวไฟ
– ขณะใช้งานต้องต่อสายดินทุกครั้งในการใช้งาน
– การเชื่อมที่ใช้กระแสไฟสูงต้องใช้สายไฟที่ทนกระแสสูงได้
การบำรุงรักษา (Maintenance)
– หลังจากหยุดการใช้เครื่องแล้วควรปล่อยให้พัดลมระบายอากาศของเครื่องทำงานอย่างน้อย 10 – 15นาที โดยเปิดเครื่องค้างไว้เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนไปสะสมที่แผนวงจร และป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์ภายใน
– ควรจะเป่าฝุ่นออกอย่างน้อยเดือนละ 1 – 2 ครั้ง เพราะฝุ่นละอองเป็นสาเหตุที่ทำให้ระบบอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์เกิดความเสียหายได้ถ้ามีการสะสมมากๆ จะทำให้ระบบวงจรบกพร่อง การไหลของวงจรกระแสไฟไม่ดีเท่าที่ควร