ตู้เชื่อม หรือ เครื่องเชื่อม เป็นอุปกรณ์ช่างที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในหลายสายงาน ไม่ว่าจะเป็น งานโรงรถ งานก่อสร้าง ตลอดจนงานในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยให้ช่างสามารถเชื่อมและตัดโลหะได้ เช่น เหล็ก และอะลูมิเนียม ทำให้การทำงานเกี่ยวกับเหล็กและโครงสร้างทำได้สะดวกสบายมากขึ้นในทุกงาน
บทความนี้เราจะมาแนะนำให้คุณรู้จักกับเครื่องเชื่อม ว่าคืออะไร? และประเภทเครื่องเชื่อมทั้ง 4 แบบ แต่ละแบบเป็นอย่างไร? แต่ละแบบมีรุ่นไหนน่าใช้บ้าง?
1. เครื่องเชื่อมคืออะไร?
เครื่องเชื่อม (Weld Machine) คือ เครื่องมือสำหรับช่างเชื่อม ที่ใช้ความร้อนที่เกิดจากอนุภาคอาร์กของไฟฟ้าภายในเครื่องจ่ายพลังงานความร้อนออกมาเพื่อใช้ในการตัดและเชื่อมโลหะเข้าด้วยกันได้ เป็นเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรงให้กับช่างเชื่อมได้เป็นอย่างดี ซึ่งประเภทตู้เชื่อมแต่ละแบบจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภทงาน
2. 4 ประเภทตู้เชื่อม ที่ควรรู้จัก
ต่อไปเรามาดูกันว่า ตู้เชื่อมแต่ละที่นำมาใช้กันในอุตสาหกรรมจริงๆ มีอะไรบ้าง ประเภทตู้เชื่อมแบบไหนที่เหมาะกับงานของเรา ตามไปดูกันเลย
2.1 เครื่องเชื่อมอาร์กอน
เครื่องเชื่อมอาร์กอน หรือ เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) เป็นเครื่องเชื่อมไฟฟ้าแบบใช้พลังงานจากอาร์กที่ใช้แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม
โดยบริเวณบ่อหลอมจะมีแก๊สเฉื่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม
เครื่องเชื่อมประเภทนี้สามารถแบ่งย่อยได้อีก 3 แบบ ระบบเชื่อมอาร์กอน TIG ระบบเชื่อมธูป ระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC
ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-) แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน
ข้อดี
- การควบคุมคุณภาพ แนวเชื่อมสวยงาม
- แนวเชื่อมมีความแข็งแรง
- สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ
- เหมาะกับการเชื่อมสเตนเลสและอะลูมิเนียม (รวมถึงโลหะอื่น ๆ ที่บาง)
ข้อเสีย
- เชื่อมได้ช้า
- ต้องใช้ความชํานาญและความประณีตในการเชื่อม
- การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน
2.2 เครื่องเชื่อม co2
เครื่องเชื่อม co2 (เครื่องเชื่อมคาร์บอน) หรือ เรียกกันในอีกชื่อว่า เครื่องเชื่อม mig ( Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมมิก เป็นเครื่องเชื่อมที่สามารถใช้แก๊สคาร์บอนผสมเข้าไปเพื่อใช้ในการเชื่อม และไม่จำเป็นจะต้องป้อนลวดเข้าไปเหมือนเครื่องเชื่อมอาร์กอน เพราะมันสามารถป้อนเนื้อลวดลงบนที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่องได้
แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชนิดของโลหะที่ต้องการเชื่อม ก็จะต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวดเพื่อให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เหมาะอย่างมากสำหรับเหมาะกับโรงงานขนาดใหญ่ที่ต้องใช้เชื่อมโลหะจำนวนมาก หลากหลายรูปแบบ
ข้อดี
- เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สเตนเลส อะลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว
- การเชื่อมสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้อง
- เปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ
ข้อเสีย
- ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ
- ต้องเปลี่ยนท่อนำลวดเมื่อเปลี่ยนประเภทโลหะที่เชื่อม
2.3 เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA
เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้ความร้อนที่เกิดจากอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode) กับชิ้นงาน เป็นพลังงานในการเชื่อม โดยจะต้องต่อไฟตรงเข้าไปในตู้เพื่อสร้างพลังงานออกมา
เครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สเตนเลส และอาจเชื่อมอะลูมิเนียมได้หากมีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป
ข้อดี
- เชื่อมได้เร็ว
- เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ไม่ใช้แก๊ส
- พกพาสะดวก
- ราคาถูก
ข้อเสีย
- ควันมาก
- ไม่สามารถเชื่อมต่อเนื่อง
- ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ
2.4 เครื่องตัดพลาสมา
เครื่องตัดพลาสมา (Plasma) เป็นตู้เชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ในการตัดโลหะ โดยจะต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้า เพื่อส่งพลังงานที่มีความเร็วสูงไปที่ตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสมา (Solid liquid gas plasma) ออกไปตัดชิ้นงาน
เครื่องตัดพลาสมาสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสเตนเลสและอะลูมิเนียมตามลำดับ
ข้อดี
- สามารถตัดชิ้นงานที่มีความเว้าโค้งหรือรูปร่างต่างๆ ได้โดยง่าย สูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย
- สภาพรอยตัดจะมีความราบเรียบและสวยงามมีความเรียบร้อย
ข้อเสีย
- ราคาสูงกว่าการตัวโดย Oxy fuel
- คุณภาพงานต้องขึ้นกับความชํานาญของผู้ใช้
- เครื่องตัดพลาสมาต้องเปลี่ยนอะไหล่ ทำให้สิ้นเปลืองบ่อย
3. ตู้เชื่อมรุ่นไหนน่าใช้มากที่สุด
หลังจากที่เราทำความรู้จักกับประเภทตู้เชื่อมแต่ละแบบไปแล้ว ส่วนนี้เราจะพามาดูกันว่าในปี 2022 มีเครื่องเชื่อมรุ่นไหนบ้างที่น่าสนใจ จนนายช่างต้องซื้อติดโรงงานไว้ใช้
3.1 เครื่องเชื่อม ARC ไฟฟ้ากระแสสลับ รุ่น PA-300
เครื่องเชื่อมแบบอาร์กอนด้วยมือ ให้กระแสไฟเชื่อมเรียบและสม่ำเสมอ สำหรับงานเชื่อมโลหะด้วยธูปเชื่อมไฟฟ้า ซึ่งพัฒนาหม้อแปลงด้วยคอยล์อะลูมิเนียม เพิ่มความปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับการต่อไฟด้านเข้าและออกด้วยฝาครอบกันฉนวน
ราคา 14,100 บาท สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ PA-300 พลัง เครื่องเชื่อม ARC ไฟฟ้ากระแสสลับ
3.2 เครื่องเชื่อม MIG รุ่น SY2000 จาก High Class
เครื่องเชื่อม co2 ที่มีคุณสมบัติประหยัดไฟ และใช้ลวดน้อยกว่าเครื่องเชื่อมแบบหม้อแปลง ทั้งยังเชื่อมได้นิ่มและง่ายกว่า ทำให้ชิ้นงานเกิดสะเก็ดน้อย และถูกออกแบบมาให้ใช้ได้กับลวด ตั้งแต่ 0.8 – 1.2 มม. ครอบคลุมงานเชื่อมทุกชนิด
ราคา 35,000 บาท สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ High Class เครื่องเชื่อม MIG รุ่น SY2000
3.3 เครื่องเชื่อม (TIG/MMA)
เครื่องเชื่อมไฟฟ้า และเครื่องเชื่อมแบบอาร์ก สองระบบในเครื่องเดียวกระแสไฟเชื่อมคงที่ น้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายง่าย ประหยัดกระแสไฟฟ้า ตุ้นทุนต่ำ คุณภาพสูง ทำให้แนวเชื่อมมีความเรียบและสวย
นิยมใช้ในการเชื่อมชิ้นงานที่บาง มีควันน้อย ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ สามารถเชื่อมทั้งเหล็ก , สเตนเลส , ทองแดง , ไททาเนี่ยม ฯลฯ KT Max TIG HF (High frequency) มีประสิทธิภาพสูง อาร์คติดง่าย และประหยัด แก๊สอาร์กอน ใช้กับลวดเชื่อมได้หลากหลาย
ราคา 10,190 บาท สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ TIG185MT (IGBT) เครื่องเชื่อม (TIG/MMA)
3.4 เครื่องตัดพลาสมา100A (JASIC)
เครื่องตัดพลาสมา ระบบอินเวิร์ทเตอร์ (INVERTER AIR PLASMA CUTTER) ที่มีอุปกรณ์ควบคุมความดัน และระบบป้องกันอุปกรณ์เสียหายจากเหตุการณ์ไฟฟ้าตก หรือไฟมาไม่ครบเฟสสามารถตัดชิ้นงานต่าง ๆ เช่น เหล็ก สเตนเลส อะลูมิเนียม ทองแดง ได้อย่างง่าย รวดเร็ว ประหยัด ตัวเครื่องน้ำหนักเบา ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูง ตัดชิ้นงานเรียบ และสวย
ราคา 32,450 บาท สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CUT100-L201 เครื่องตัดพลาสมา100A (JASIC)
3.5 เครื่องเชื่อม MMA,TIG,CUT (JASIC)
เครื่องเชื่อมอินเวิร์ทเตอร์ เจสิค รุ่น CMT416 เป็นเครื่องเชื่อม 3 ระบบ MMA/TIG/CUT อเนกประสงค์ ที่สามารถทำได้ทั้งระบบอาร์กอน ระบบไฟฟ้า และระบบตัดด้วยพลาสมา
ออกแบบและผลิตออกมาอย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพตามมาตรฐาน ใช้งานสะดวก หลากหลาย ประหยัดแรง และเวลา เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่ต้องการใช้งานอย่างหลากหลาย สามารถปรับสวิตช์ควบคุมที่หน้าจอ ใช้เชื่อมโลหะได้เกือบทุกประเภท สะดวกต่อการเชื่อมทุกงาน ครบครันที่สุดเท่าที่จะเลือกใช้งานแล้ว
ราคา 21,000 บาท สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ CMT416 เครื่องเชื่อม MMA,TIG,CUT (JASIC)
4. สรุป
ตู้เชื่อมไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์เชื่อมสำหรับช่างเชื่อมที่สามารถทุ่นแรงได้ทั้งในงานเชื่อมและงานตัด โดยใช้พลังงานความร้อนในการหลอมเหล็กเพื่อเชื่อม และใช้พลังงานความร้อนในการตัดโลหะ โดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตู้เชื่อม ดังนี้
- เครื่องเชื่อมแบบอาร์กอน
- เครื่องเชื่อม co2
- เครื่องเชื่อมไฟฟ้า MMA
- เครื่องตัดพลาสมา
ถ้าหากสนใจหรือต้องการข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องเชื่อมเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาในช่องทางติดต่อเพื่อขอข้อคำปรึกษาได้ที่ ช่องทางติดต่อของ S.T. Intertrade ได้เลยครับ เราพร้อมบริการคุณจากใจ